ผู้จัดทำข้อตกลง

นางปภัชญา เตชะวิทยะจินดา

ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

สถานศึกษา โรงเรียนบ้านขึ่งงามมงคล

สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1





ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 18 ชั่วโมง /สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

- รายวิชาวิทยาการคำนวณ จำนวน 6 ชั่วโมง /สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

- รายวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 5 ชั่วโมง /สัปดาห์

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ

- รายวิชาการงานอาชีพ จำนวน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- แนะแนว จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ชุมนุม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ลูกเสือเนตรนารี จำนวน 1 ชั่วโมง /สัปดาห์

กิจกรรมลดเรียนเพิ่มรู้

- กิจกรรมลดเรีนเพิ่มรู้ จำนวน 2 ชั่วโมง /สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งครูเข้าสอนภาคเรียนที่ 2/2564

####################################################

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
จำนวน 6 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2564

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ประจำชั้น ภาคเรียนที่ 2/2564

คำสั่งแต่งตั้งครูเวรประจำวัน ภาคเรียนที่ 2/2564

####################################################

งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป

- เจ้าหน้าที่งานเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เจ้าหน้าที่งานโสตทัศนศึกษา จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

กลุ่มงานวิชาการ

- งานทะเบียน จำนวน 5 ชั่วโมง/สัปดาห์

####################################################
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่งานตามสายงานบริหารราชการโรงเรียน ประจําปีการศึกษา 2564

####################################################

งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ประเด็นท้าทาย
เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ โดย

ใช้สื่อ unplug และ ใช้เกม Loop ผ่านเว็บไซต์ code.org รายวิชา วิทยาการคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

ในการจัดการเรียนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ ผู้เรียนมักจะมีปัญหากับการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ ทั้งด้านความไม่เข้าใจ มองไม่เห็นภาพ และขาดแรงจูงใจ เนื่องจากการเขียนโปรแกรมเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจและมีแต่ตัวหนังสือที่เข้าใจยาก ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทายโดยการใช้เกม Loop จากเว็บไซต์ code.org ที่มีความน่าสนใจ มีสีสันสวยงาม เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตร

สถานศึกษาโรงเรียนบ้านขึ่งงามมงคล ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของเนื้อหา การเขียนโปรแกรม เรื่องการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ

2.2 ศึกษาเนื้อหาเกม Loop จากเว็บไซต์ code.org พร้อมพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

• วิเคราะห์ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเรื่องการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ

• ศึกษาเนื้อหาเกม Loop จากเว็บไซต์ code.org

• พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดแทรกเกม Loop จากเว็บไซต์ code.org เข้าชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อทดลองใช้และขอคำแนะนำเพื่อปรับปรุงจากครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

• ให้นักเรียนที่มีผลการเรียนไม่ผ่านเกณฑ์ฝึกฝนการเล่นเกม

• ประเมินผลการพัฒนาของนักเรียน โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ

• บันทึกผลการเรียนรู้และพัฒนาสรุปเป็นสารสนเทศ แจ้งให้นักเรียนทราบถึงผู้ไม่ผ่านการและพัฒนาจนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

เชิงปริมาณ

1. ผู้เรียนร้อยละ 80สามารถเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำ โดยพิจารณาจาก การเล่มเกมเขียนโปรแกรม ผ่านสื่อ unplug และเว็บไซต์code.org

2. ผู้เรียนร้อยละ 80 สามารถอธิบายการเขียนโปรแกรมแบบวนซ้ำได้โดยพิจารณาจากผลการตอบคำถามของผู้เรียน

เชิงคุณภาพ

1.ผู้เรียนมีทักษะความรู้ความเข้าใจในรายวิชาที่เรียนได้อย่างถูกต้องแล้วนำไปใช้ในชีวิตจริงได้

2.ผู้เรียนมีเจคติที่ดีและประโยชน์ของรายวิชาที่เรียนและเกิดความซาบซึ้งอยากกระทำตามและแนะนำคนอื่นได้

ตัวชี้วัด (Indicators)

ผู้เรียนร้อยละ 70 มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู อยู่ในระดับมากขึ้นไป

แผนภูมิแสดงระดับความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนของครู

รายวิชาวิทยาการคำนวณ ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน 199 คน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ 4.59 อยู่ในระดับมาก

ผู้เรียนร้อยละ 84.07 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยการคำนวณตั้งแต่ 3.00 ขึ้นไป

แผนภูมิแสดงการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ

ภาคเรียนที่ 2/2564

รายวิชาเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 2/2564 มีจำนวนผู้เรียน 199 คน มีค่าเฉลี่ยผลการเรียนตั้งแต่ 2.0 ขึ้นไป ร้อยละ 99.23

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้